ยักษ์ใหญ่ “มากอตโต”ส่งลูกบดโลหะตีอุตฯซีเมนต์-เหมืองแร่ของโลก

มากอตโต เดินเครื่องผลิต 75,000 ตันต่อปี ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ชูรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ 14 ปีติดต่อกัน  รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมซีเมนต์และเหมืองแร่รายใหญ่ของโลก

บริษัท มากอตโต จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533 เดิมชื่อ “บริษัท สยามมากอตโต จำกัด” เป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย และได้เปลี่ยนโครงสร้างบริษัท เมื่อปี พ.ศ.2542 โดยปูนซีเมนต์ไทยได้ขายหุ้นให้กับมากอตโตทั้งหมด และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “บริษัท มากอตโต จำกัด” จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตลูกบดโลหะ สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมซีเมนต์และเหมืองแร่รายใหญ่ของโลก และเป็นผู้นำในประเทศไทย ด้วยกำลังการผลิตมากกว่า 75,000 ตันต่อปี ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย

 ปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานสากลดังนี้  ระบบการจัดการคุณภาพ (ISO 9001:2015)  ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2015)  ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001:2018)  ระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล (ISO 50001:2018)  มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (SA8000:2014) และยังได้รับการรับรองเป็นสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ 14 ปีติดต่อกัน

ประกอบกับมีสำนักงานขายตั้งอยู่ในเขตสาทร กรุงเทพฯ และมีโรงงานผลิตทั้งหมด 4 โรง ที่จังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ในอำเภอหนองแค 3 โรงงาน ได้แก่ โรงงาน1 และโรงงาน2 เป็นโรงงานผลิตลูกบดปูนซีเมนต์ และโรงงาน4 ตั้งอยู่ในบริเวณรั้วโรงงานเดียวกัน เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนหม้อบดแนวตั้ง ส่วนโรงงานที่3 ตั้งอยู่ในอำเภอเสาไห้ ตำบลหัวปลวก เป็นโรงงานผลิตลูกบดปูนซีเมนต์เช่นกัน

         ล่าสุดบริษัทฯได้นำเสนอExpand โซลูชันใหม่ของ Magotteaux สำหรับโรงงานปูนซีเมนต์ / โรงไฟฟ้าชิ้นส่วนสึกหรอที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับโรงงานแนวตั้งที่มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นโซลูชัน 5in1 ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของบริษัทฯ ผสมผสานประสิทธิภาพที่ดีที่สุดเข้าด้วยกันกับการลดรอยเท้าในระบบนิเวศที่บริษัทฯพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยโซลูชันที่สร้างสรรค์ที่สุด นั่นคือเหตุผลที่บริษัทฯไม่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เดียว แต่คราวนี้มีสองผลิตภัณฑ์ นอกเหนือจากโซลูชันมาตรฐานใหม่ของเราExpand Oneซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าผลิตภัณฑ์เมทริกซ์คอมโพสิต (MMC) มาตรฐานอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญบริษัทฯยังได้พัฒนาโซลูชันระดับไฮเอนด์และออกแบบตามสั่งรุ่นใหม่Expand + ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพให้อยู่ในระดับที่เท่าเทียมกันสูงขึ้น

แนวโน้ม ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)

 ปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0 โดยมีปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่น่าจะมีออกมาเป็นระยะ นักลงทุนมีการย้าย สายการผลิตมาลงทุนในประเทศไทยจากผลของสงครามการค้า แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐจากความ คืบหน้าของโครงการลงทุนที่สำคัญๆ รวมถึงการดำเนินงานภายใต้แผนงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ทิศทางอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมเม็ด) คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะยังสามารถขยายตัวได้จากความต้องการของตลาดในประเทศ เนื่องจากการเร่งดำเนินโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น การก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง การก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงและ รถไฟรางคู่ เป็นต้น รวมถึงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนตามแนวรถไฟฟ้า

อุตสาหกรรมเหมืองแร่มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSRDPIM

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ผลักดันและส่งเสริมให้สถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมแร่ในความรับผิดชอบมีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มมากขึ้นซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่สามารถประกอบการอย่างต่อเนื่องและอยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ภาคสังคมทั้งประชาชน หน่วยงานท้องถิ่น ภาครัฐ ยอมรับการประกอบการของอุตสาหกรรมแร่ และเข้าใจความจำเป็นของการนำทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถผลิตและใช้แร่ได้อย่างยั่งยืนก่อให้เกิดความมั่นคงด้านแร่ในระยะยาว โดยผู้ประกอบการสามารถจะใช้หลักการของ CSR ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และดูแลความเป็นอยู่ของชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรมได้ เช่น การร่วมกับชาวบ้านในการจัดหาพันธุ์พืชสำหรับเพาะปลูกในชุมชน การร่วมกิจกรรมกับชาวบ้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือรับซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มาจากชุมชนในพื้นที่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเหมืองแร่นอกจากจะมีความสำคัญในการเป็นอุตสาหกรรมต้นทางที่จัดหาวัตถุดิบแร่เพื่อป้อนให้แก่ภาคอุตสาหกรรมแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่ภาคเกษตรกรรมได้ทั้งในปัจจัยด้านสภาพพื้นที่แหล่งน้ำและปุ๋ยรวมทั้งยังสามารถที่จะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาเกษตรกรรมผ่านการทำ CSR ได้เช่นกัน