โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ครบรอบ 132 ปี นับตั้งแต่ก่อกำเนิดมา
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในยุค 4.0 พลิกโฉมการแพทย์ การสาธารณสุข และการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบรับความต้องการของประเทศไทยอย่างครบวงจร
การันตรีด้วยการเข้ารับรางวัลเลิศรัฐ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดีเด่น และระดับดี จำนวน 2 รางวัล คือ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ โครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกและตรวจคัดกรอง ทารกแรกเกิด เพื่อคุณภาพชีวิตเด็กไทยยุค 4.0 โดย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และรางวัลระดับดี ได้แก่ โครงการการบริหารจัดการเก็บรายได้ของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ฝ่ายการคลัง รางวัลดังกล่าวจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
สำหรับสร้างตึกใหม่รับผู้ป่วย-ผู้สูงวัย โรงพยาบาลจะลงทุนสร้างอาคารเอง 2,000 ล้านบาท รูปแบบเป็นอาคารสูง 15 ชั้น ใต้ดิน 3 ชั้น สถานีรถไฟฟ้ามีพื้นที่ใช้สอย 48,191 ตร.ม. ชั้น 1-2 เชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารชั้น 3-4 ซึ่งเป็นคลินิกผู้ป่วยนอกชั้น 5 เป็นพื้นที่ของโรงพยาบาล ชั้น 6เป็นสำนักงานอาคารและห้องปฏิบัติการกลาง ชั้น 7 หอผู้ป่วยไอซียู 12 ห้อง ชั้น 7-M พื้นที่วิศวกรรมงานระบบและส่วนขยาย ชั้น 8-15 เป็นหอผู้ป่วย 126 เตียง ที่จอดรถ 95 คัน หากแล้วเสร็จจะรับผู้ป่วยได้วันละ 10,000 คน
นอกจากนี้ยังมีอีก 4 โครงการ รวมถึงขอเปลี่ยนสีผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้พื้นที่ภายในโรงพยาบาลศิริราช จากปัจจุบันเป็นสีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) มีข้อจำกัดความสูงของอาคารสร้างได้ไม่เกิน 5 ชั้น เป็นพื้นที่สีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ) เพื่อพัฒนาตึกสูงได้ทั้งมีแผนปรับปรุงอาคารผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อเป็นต้นแบบศูนย์การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศไทย กรอบวงเงินลงทุน 4,000-5,000 ล้านบาท พร้อมวางระบบคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัย
รวมถึงมีการก่อสร้างอาคารกุมารแพทย์ใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รักษาโรคในเด็กเป็นหลัก เนื่องจากตึกเดิมมีอายุการใช้งานนานกว่า 70 ปี จำเป็นต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ ใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และสร้างอาคารผ่าตัดด้วย และโปรเจ็กต์สุดท้ายจะนำที่ดิน 25 ไร่ จ.สมุทรสาคร ที่ได้รับบริจาค สร้างศูนย์วิทยาการความรู้ผู้สูงอายุศิริราช ใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหากได้รับอนุมัติจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยในปี 2564 ที่คาดว่าจะมีผู้สูงวัย 20 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด
132 ปี โรงพยาบาลศิริราช
ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาลหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย
ในวันที่ 3 มกราคม ปี2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนแพทย์อย่างเป็นทางการ และพระราชทานนามว่า ราชแพทยาลัย ซึ่งเป็นนามดั้งเดิมของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปัจจุบัน
โรงพยาบาลศิริราช ได้พัฒนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตามลำดับ ด้วยพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าทุกพระองค์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ในราชวงศ์จักรีและยังได้รับการสนับสนุนกิจการทั้งปวงจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัย มีการบริหารงานภายใน นอกจากสำนักงานคณบดี สำนักงานผู้อำนวยการ และภาควิชาต่าง ๆ 25 ภาควิชาแล้ว ยังมี ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สถานวิทยามะเร็งศิริราช สถานส่งเสริมการวิจัย สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงเรียนต่าง ๆ ที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์อีก 4 แห่งคือ โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล โรงเรียนเวชนิทัศน์ โรงเรียนเวชศาสตร์การธนาคารเลือด และ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีภาวะหลักในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถส่งเสริมงานวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม พัฒนาการบริการทางการแพทย์ โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอนุรักษ์และเผยแพร่กิจกรรม เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วยธนาคารเลือดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีภาวะหลักในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถส่งเสริมงานวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม พัฒนาการบริการทางการแพทย์ โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอนุรักษ์และเผยแพร่กิจกรรม เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย