ก้าวสู่ 22 ปี โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) ผลิตแบบรักษ์โลกไม่กระทบสิ่งแวดล้อม

บริษัท โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย)จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ พวงมาลัยรถยนต์ ชิ้นส่วนพลาสติกภายในและภายนอกรถยนต์ ผลิตท่อน้ำมันเบรคและชิ้นส่วนยางสังเคราะห์และพลาสติกสำหรับยานพาหนะ ผลิตพวงมาลัยรถยนต์สำหรับถุงลมนิรภัย ถุงลมนิรภัยและชิ้นส่วนถุงลมนิรภัย ก่อตั้งในประเทศไทยขึ้นเมื่อปี 2538 เปิดดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 21 ปี

แหล่งข่าวระบุว่า เป็นบริษัทในเครือบริษัท โตโยด้า โกเซ กรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัทครอบคลุมอยู่ทั่วโลกถึง 67 กลุ่มบริษัท ใน 18 ประเทศและภูมิภาค อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอเมริกา กลุ่มโซนเอเชีย ออสเตรเลีย และกลุ่มโซนยุโรป และแอฟริกา

ทุกกระบวนการผลิต บริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นได้ผ่านมาตรฐานและมีคุณภาพ นอกจากนี้บริษัทมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

บริษัทมีหลักพื้นฐานในการผลิตที่สำคัญๆ คือ ในขั้นตอนของการจัดหาวัสดุสินค้าผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์การผลิตและสินค้าอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของบริษัท ดำเนินการประเมินซัพพลายเออร์จากทั่วโลก เพื่อคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงคุณภาพทั้งในด้านต้นทุนและปริมาณในการสั่งซื้อการส่งมอบ       บริษัท ต้องการที่จะเติบโตไปด้วยกันกับพันธมิตรทางธุรกิจโดยอยู่บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ระยะยาว ด้วยเหตุนี้จึงทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของความไว้วางใจผ่านการสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์

บริษัทเน้นการพัฒนากิจกรรมการออกแบบและการผลิตของเราอยู่ภายใต้การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตามกฎหมาย ในการจัดซื้อซึ่งทำตามหลักการของการจัดซื้อรายการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและการดำเนินกิจกรรมของเราในรูปแบบที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า หากอุตสาหกรรมยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยในกลุ่มเทียร์ 2 และเทียร์ 3 ที่มีจำนวนมากกว่า 1,700 รายในประเทศไทย จากภาพรวมการส่งออกชิ้นส่วนที่หดตัวลง 4เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านม าและอีกเกือบ 1เปอร์เซ็นต์ สวนทางกับการนำเข้าชิ้นส่วนที่ขยายตัวราว 6เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้ เป็นผลจากการบุกตลาดของผู้ผลิตชิ้นส่วนราคาถูก และการปรับแผนงานของผู้ผลิตรถยนต์บางรายที่เน้นไปนำเข้าชิ้นส่วนเพิ่มมากขึ้น

“เรื่องของผู้ผลิตชิ้นส่วนนั้นมีหลายสิ่งที่ต้องคำนึง ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะดำเนินการไปในทิศทางไหน ซึ่งแนวโน้มในการเดินหน้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้นเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ประกอบการ และเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยังต้องดิ้นรนในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องของเทคโนโลยี เรื่องการผลิต ที่จะก่อให้เกิดศักยภาพในการผลิต รวมไปถึงเรื่องของการสร้างคนขึ้นมารองรับกับอุตสาหกรรม ซึ่งหากเราต้องการพัฒนาขึ้นมาเป็นฮับของอาเซียน ที่มีการแข่งขันกันมาก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถร่วมกัน”นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมีการส่งออกรวมกันปีละกว่า 6 แสนล้านบาท ซึ่งสูสีกับตัวเลขการส่งออกของผู้ผลิตรถยนต์ ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการส่งออกปีละกว่า 1.22 ล้านล้านบาท จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งต้องมีการสร้างยุทธศาสตร์ขึ้นมารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไปในอนาคต

นายสุรพงษ์  ไพสิฐพัฒนพงษ์  รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย เปิดเผยจำนวนการผลิตยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกันยายน 2559 ว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกันยายน ปี 2559 มีทั้งสิ้น 173,069 คัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2558 0.92เปอร์เซ็นต์ จากการผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 48.24 เปอร์เซ็นต์ และ 11.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี2559 10.7เปอร์เซ็นต์

รถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – กันยายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,476,736 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กันยายน ปี 2558 3.14 เปอร์เซ็นต์

รถยนต์นั่ง เดือนกันยายน ปี2559 ผลิตได้ 79,005 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2558 22.78 เปอร์เซ็นต์ จากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น

ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน ปี 2559 มีจำนวน 618,207 คัน เท่ากับ 41,86  เปอร์เซ็นต์ ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กันยายน ปี 2558 4.75 เปอร์เซ็นต์

รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนกันยายน ปี 2559 ผลิตได้ 15 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2558  50  เปอร์เซ็นต์ รวมเดือนมกราคม – กันยายน ปี2559 ผลิตได้ 158 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – กันยายน ปี 2558 58.75 เปอร์เซ็นต์

รถยนต์บรรทุก เดือนกันยายน ปี 2559 ผลิตได้ทั้งหมด 94,049 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2558 12.2 เปอร์เซ็นต์และตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน ปี 2559 ผลิตได้ทั้งสิ้น 858,371 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กันยายน ปี 2558 2.04 เปอร์เซ็นต์

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกันยายน ปี 2559 ผลิตได้ทั้งหมด 91,170 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2558 12.77  เปอร์เซ็นต์ จากการผลิตเพื่อส่งออกลดลง 20.69 เปอร์เซ็นต์ และตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน ปี 2559 ผลิตได้ทั้งสิ้น 836,941 คัน เท่ากับ 56.68 เปอร์เซ็นต์ ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กันยายน ปี 2558 2.01เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งเป็น