โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม ตอนรับคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลช่วงฤดูเปิดหีบ 2561/2562 ขานรับนโยบายลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ให้หมดภายในปี 2565

โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม ครบรอบ 61 ปี การเปิดหีบ ชูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จัดทำ Big cleaning day สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันฝุ่นไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ทำความสะอาด กวาด ตัก ขูด ถนนบริเวณหน้าโรงงานถนน ทางเข้า – ออก วันละ 4 รอบ

            แหล่งข่าว ระบุว่าโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดมได้มีโอกาสต้อนรับ นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และ นายสมพล โนดไธสง รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการของโรงงานน้ำตาลและการบรรทุกอ้อยในช่วงเปิดหีบอ้อย ประจำปีฤดูการผลิตปี 2561/2562 ของโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม

            ทางคณะเข้าตรวจเยี่ยมการจัดระบบคิวและการบริหารจัดการขนส่งอ้อยเข้าโรงงานพร้อมทั้งประชุมหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดมและสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ในหัวข้อแนวทางการบริหารจัดการอ้อย และการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผ่านโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร เพื่อรองรับนโยบายลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ลงปีละไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็น๖ และปริมาณอ้อยไฟไหม้จะหมดไปภายในปี 2565

            ขณะในด้านสังคม โรงงานน้ำตาลเริ่มอุดมโดยนายปรีชา ชัยรัตน์ พร้อมครอบครัวและญาติพี่น้อง เปิดบ้านแจกอั่งเปาเป็นขวัญถุงอย่างเช่นทุกปีที่ผ่านมาซึ่งมีชาวบ้านมารอรับอั่งเปาอยู่บริเวณหน้าบ้าน โดยเตรียมเงินใส่ซองสีแดงมาอั่งเปา 1 หมื่นซอง เพื่อแจกพี่น้องชาวอุดรธานี หรือแจกจนกว่าผู้มารอรับจะหมด หากไม่พอก็มีเงินสำรองไว้

นายปรีชา กล่าวว่า ทุกคนก็รู้ว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไรเราก็หวังให้ดีขึ้น เรามาแจกจ่ายความสุขให้กับทุกคนในวันนี้ ช่วยเหลือกันได้ก็ช่วยเหลือไป อยากส่งความสุข ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ช่วยดลบันดาล พิทักษ์คุ้มครองให้ทุกคนมีความสุข ความเจริญ ให้สุขภาพแข็งแรง คิดสิ่งใดให้สมหวังในสิ่งนั้นตลอดไป

ประวัติ

          โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดมก่อสร้างสำเร็จใน ปี พ.ศ.2501 โดยตั้งอยู่เลขที่ 11 หมู่ 1 ต.บ้านยา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานในปัจจุบันมีพื้นที่โดยประมาณ 80 ไร่

            เริ่มแรกได้ร่วมกันก่อตั้งโรงงานน้ำตาลทรายแดงครั้งแรกขึ้นที่บ้านหนองเม็ก ตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี โดยการชักชวนเกษตรกรชาวไร่ที่สนใจทำไร่อ้อยในเขตบริเวณอำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปี และอำเภอใกล้เคียง แนะนำให้เกษตรกรได้มีความรู้เรื่องการปลูกอ้อยเพื่อเป็นวัตถุดิบในการนำมาขายให้แก่บริษัทเพื่อทำการผลิตน้ำตาลทรายแดงและน้ำเชื่อม ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการผลิตครั้งแรกโดยมีเงินลงทุนประมาณ 300,000.-บาท และพัฒนาเรื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ชาวไร่อ้อยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ปรับใช้เพิ่มผลผลิต

            สำนักบริหารอ้ยและน้ำตาล ระบุว่า ปัจจุบันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยก็มิได้นิ่งนอนใจ ต่างเร่งคิดหาแนวทางในการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ รวมถึงกลุ่มมิตรผลซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมายาวนานก็ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและได้รณรงค์การตัดอ้อยสดมาโดยตลอดเช่นกัน

            นายคนิด แคว้นคอนฉิม ชาวไร่อ้อย อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ที่ปัจจุบันหันมาตัดอ้อยสด กล่าวว่า แต่ก่อนเคยเผาอ้อยก่อนตัดก็เป็นปัญหามากเผาทีไร กำนันผู้ใหญ่บ้านมาเตือนถึงบ้านเพื่อนบ้านก็ร้องเรียน ไฟลามไปโดนที่คนอื่นและต้องใช้คนงาน 60-70 คนเข้าไปตัดอ้อย

ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบแปลงให้เครื่องจักรเข้าไปวิ่งทำงานในไร่ได้แล้ว ก็ตัดอ้อยสดด้วยรถตัด สับขึ้นรถบรรทุกได้ง่าย ใช้คนงานแค่ 6-7 คน และไว้ใบอ้อยคลุมดิน ก็ควบคุมวัชพืชได้ดีขึ้นมากช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ที่สำคัญคือดินดีขึ้น เพราะใบที่คลุมดินไว้เรากลบเป็นซากคืนอินทรียวัตถุให้ดิน ดินก็อุดมสมบูรณ์ มีอาหารให้อ้อยดินไม่แข็งไม่ด้าน ทำไร่ที่เผาบ่อยๆดินจะแน่นมาก และระยะยาวทำให้ดินเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังสร้างมลพิษ สร้างความเดือดร้อนให้คนในชุมชน

            นายธนะโชค  ไกยฤทธิ์  ชาวไร่อ้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ที่กล้าคิด กล้าทำ นำเทคโนโลยีการทำไร่อ้อยสมัยใหม่มาปรับใช้อย่าสมดุลกล่าวว่า ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากให้ทุกคนเผาอ้อยเพราะคนที่ไม่เผา มักจะโดนไฟจากไร่อื่นลามเข้ามาสุดท้ายก็ไหม้ตามๆกัน ตอนนี้เรามีวิธีจัดการไร่ที่ไม่ต้องเผาใบ คือเตรียมแปลงตั้งแต่เริ่มต้นให้รถตัดเข้าไปทำงานได้ และทุกวันนี้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ทำไร่อ้อยได้สะดวกสบายขึ้นเราควรใช้ประโยชน์จากตรงนี้ให้คุ้มค่า ถ้าให้เลือกเริ่มวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ผมเลือกเริ่มวันนี้ดีกว่า

            ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรรวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เราจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว ปรับความคิด และลงมือปฏิบัติ นำเอาเทคโนโลยีและการเกษตรสมัยใหม่มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ สิ่งนี้ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน