85 ปี กรมท่าอากาศยาน ครม.เห็นชอบตั้ง “อัมพวัน วรรณโก” นั่งอธิบดีกรมคนใหม่

กรมท่าอากาศยาน (ทย.) หน่วยงานระดับกรมในสังกัดของ กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่พัฒนาโครงข่ายส่งเสริมกิจการท่าอากาศยานและบริหารท่าอากาศยานทั้ง 28 แห่งทั่วประเทศ โดยมีภารกิจหลักคือเป็นนหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่หลักที่ในการดูแล บริหาร และพัฒนาศักยภาพท่าอากาศยานเพื่อให้สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง

85 ปีที่ผ่านมา พบว่าตัวเลขการใช้บริการท่าอากาศยานทั่วประเทศพบว่าจำนวนการใช้ท่าอากาศยานทั่วประเทศเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับให้ทันโดยมีการศึกษาพัฒนาและออกแบบท่าอากาศยานในสังกัดเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายการเดินทางเชื่อมระบบขนส่งอื่น สอดคล้องการเติบโตของแหล่งท่องเที่ยวและความต้องการใช้ของผู้โดยสาร โดยแผนการออกแบบระยะ 20 ปี หรืออัลติเมทดีไซน์จะตอบโจทย์การพัฒนาเหล่านี้

สำหรับแผนพัฒนาท่าอากาศยานที่จะขยายท่าอากาศยานในสังกัดของกรมท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความดูแลของ ทอ.ทั้งหมด เช่น ท่าอากาศยานจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง ตามแผนระยะ 10 ปีข้างหน้า และในปีนี้ได้ดึงเอกชนร่วมทุนแบบพีพีพีบริหารท่าอากาศยาน หลายแห่งเช่น ท่าอากาศยานนครราชสีมา ลำปาง เพชรบูรณ์ และชุมพร คาดว่า 8เดือนได้ข้อสรุป และสามารถเริ่มต้นโครงการพีพีพีใน 3 ปีข้างหน้า

ส่วนท่าอากาศยานที่จะดำเนินการตามยุทธศาสตร์โอนไปให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.บริหารตามนโยบายกระทรวงคมนาคมนั้นขณะนี้ชัดเจนว่าเป็นท่าอากาศยานจังหวัดตากและอุดรธานีเพื่อสอดคล้องยุทธศาสตร์เชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นทางการบินที่ ทอท.ไม่มีในปัจจุบันให้มีเครือข่ายครอบคลุม

แผนการพัฒนาสนามบินแบ่งเป็นแผนพัฒนาระยะที่1 ระหว่างปี2560-2564ใช้งบประมาณ 29,154.75 ล้านบาท  โดยจะดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานที่มีศักยภาพ อาทิ ท่าอากาศยานกระบี่ ,นครศรีธรรมราช ,ขอนแก่น ,ตรัง และสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันสนามบินดังกล่าวมีผู้โดยสารใช้บริการเกินขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินไปแล้ว

ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2565-2569 จะใช้งบประมาณ 9,407.03 ล้านบาท  ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานี ,อุดรธานี ,ร้อยเอ็ด ,สกลนคร ,เลย และหัวหิน

ส่วนแผนการเพิ่มศักยภาพงานบริหารและบุคลากรนั้นถือเป็นปีแรกที่ทย.ได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานของ 28 ท่าอากาศยานในสังกัด โดยจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ทำให้ทราบว่าท่าอากาศยานไหนมีผลประกอบการเป็นอย่างไรบ้าง และให้เกิดการแข่งขันกันเอง ขณะเดียวกันด้านบุคลากรก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานทีมการตลาดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

นอกจากความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในการมีท่าอากาศยานที่ตั้งที่ชัดเจนเหมาะสมกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคพร้อมต่อการพัฒนา รวมถึงต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ทำให้ประชาชนได้รับบริการในราคาที่ถูกกว่าและการบริการที่ได้รับการยอมรับแล้วนั้นกรมท่าอากาศยานถือเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น เป็นฐานปฏิบัติการฝนหลวง การขนส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสาธารณูปโภคการขนส่งทางอากาศขั้นพื้นฐานของประชาชน และที่สำคัญประชาชนเป็นเจ้าของหน่วยงานที่แท้จริง ไม่เพียงแต่การพัฒนาทุกสนามบินให้มีมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยและทันสมัย รองรับการเติบโตของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น ยังคำนึงถึงประชาชนหรือผู้ใช้บริการในฐานะเจ้าของหน่วยงานที่แท้จริงให้ได้รับบริการที่ถูกและคุ้มค่าที่สุด รวมถึงการช่วยเหลือสังคมในทุกมิติเพื่อให้เป็นท่าอากาศยานของคนไทยที่ได้รับการยอมรับจากสากลอย่างแท้จริง

วันนี้กรมท่าอากาศยานพร้อมแล้วที่จะเป็นหนึ่งในการร่วมพัฒนาประเทศไทย ให้ก้าวไกลในทุกๆ ด้าน  ทั้งการคมนาคมทางอากาศ  การขนส่งสินค้า  การท่องเที่ยว  และเศรษฐกิจ  เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลให้เป็นประเทศไทย 4.0 มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าอากาศยานทั่วประเทศไทย  อย่างไม่หยุดยั้ง  เพื่อให้ทุกท่าอากาศยานเป็นทุกโอกาสและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งหลังจากที่โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแล้วเสร็จ จะทำให้ท่าอากาศยานสามารถที่จะรองรับผู้โดยสารได้ตรงตามเป้าหมาย โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 30 ล้านคนต่อปี ในปี 2568  และรองรับได้ถึง 58 ล้านคนต่อปี ในปี 2578 โดยเป็นไปตามมาตรฐาน ICAO

ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการบริหารระดับสูงจำนวน 9 คน โดย 1 ในนั้นเป็นตั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าคนใหม่คือ นางอัมพวัน วรรณโก ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมท่าอากาศยานมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป โดยจะเข้ามาสานต่อนโยบายและพัฒนากรมท่าอากาศยานให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อความพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการและยกระดับการบริการสู้มาตรฐานสากล

สำหรับท่าอากาศยานที่อยู่ในความดูแลของ ทอ.แบ่งเป็น 3 ภูมิภาคได้ ดังนี้

ท่าอากาศยานในภาคเหนือจำนวน10 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานตาก,ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน,ท่าอากาศยานแม่สอด,ท่าอากาศยานน่านนคร,ท่าอากาศยานปาย,ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์,ท่าอากาศยานพิษณุโลก,ท่าอากาศยานแพร่9.ท่าอากาศยานลำปางและท่าอากาศยานแม่สะเรียง

ท่าอากาศยานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี,ท่าอากาศยานสกลนคร,ท่าอากาศยานเลย,ท่าอากาศยานนครพนม,ท่าอากาศยานนครราชสีมา,ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด,ท่าอากาศยานขอนแก่น,ท่าอากาศยานอุบลราชธานีและท่าอากาศยานบุรีรัมย์

ท่าอากาศยานในภาคใต้จำนวน10แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานชุมพร,ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี,ท่าอากาศยานระนอง,ท่าอากาศยานตรัง,ท่าอากาศยานหัวหิน,ท่าอากาศยานกระบี่,ท่าอากาศยานนครศรีรรมราช,ท่าอากาศยานนราธิวาส,ท่าอากาศยานปัตตานี และท่าอากาศยานเบตงซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2563