“30 ปี วงศ์บัณฑิต” เปิดยุทธ์ศาสตร์ปีจอ เดินหน้าลุยตลาดยาง

บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัดในโอกาสสรุปผลงาน 30 ปี ของการก่อตั้งบริษัท พร้อมเปิดแผนการลงทุนปี 2561 และตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดปี 2561

นายบัณทิต เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกยางพารา ยางธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศไทย โดยผลิตและส่งให้กับลูกค้าต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และมีฐานการผลิตที่สำคัญๆ อยู่หลายแห่งประกอบด้วย โรงงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, ชุมพร และกระบี่ และล่าสุดโรงงงานแห่งใหม่ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นโรงงานที่ 5 ของบริษัท ที่สามารถรองรับกำลังการผลิตตามออเดอร์จากต่างประเทศ

รวมถึงกลุ่มลูกค้าประเทศจีนที่มีการเซ็นสัญญานำเข้าอยู่เป็นระยะๆ โดยที่ผ่านมาบริษัทมีการส่ง ซื้อขายยางให้ผู้นำเข้าจากจีน 3 ราย อาทิ บจก.ชิงเต่า เรื่อนเหรียญ, บจก.เซี่ยงไฮ้ ฮาน ชิง อิมพอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต และบจก.เซี่ยงไฮ้ ติง ชิง อินดัสทรี จากข้อมูลที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกโดยรวมประมาณ 1.10 แสนตัน และมีมูลค่ากว่า 3.85 พันล้านบาท

ส่วนแผนการรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมยางในปี 2561 บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ เพื่อดำเนินการขยายกำลังการผลิตยางแท่ง ใน 3 โครงการในจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใน 2 โครงการ โดยลงทุนมูลค่า 339 ต่อโครงการ ทั้งนี้โครงการทั้งหมดกลุ่มวงศ์บัณฑิตทยอยดำเนินการ

สาเหตุที่ทำให้ยางไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้คือ คุณภาพยางไทยมีคุณภาพสูง เนื่องจากรับจากชาวสวนโดยตรง โดยมีการควบคุมคุณภาพการผลิตจากกลุ่มเกษตรกรสวนยาง ฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ อาทิ ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ประมาณ 7.5 แสนตันต่อปี มูลค่าราว 5.6 หมื่นล้านบาท

โดยลูกค้าหลักๆ เป็นกลุ่มผู้ผลิตล้อยางรถยนต์ อย่างประเทศอินเดีย ด้วยปัจจัยด้านจำนวนรถต่อประชากรเฉลี่ย 18 ตันต่อประชากร 1 พันคน ขณะที่อินเดียมีประชากรมากกว่า 1 พันล้านคน นอกจากนี้ยังมีตลาดใหม่ที่น่าสนใจนอกเหนือจากประเทศอินเดีย อย่างประเทศอิหร่าน ส่วนประเทศจีน ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะแย่ลง แต่ยังมีอัตราเติบโตที่สูงประกอบกับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ยังมีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

ด้วยขั้นตอนการผลิตของบริษัทฯ ที่คัดสรรน้ำยางเข้มข้นที่เก็บรวบรวมมาจากต้นยางพาราที่มีการดูแลควบคุมเป็นอย่างดี ซึ่งน้ำยางเข้มข้นเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของยางบริสุทธิ์ที่มีการสกัดออกมา โดยใช้สารเคมีในการรักษาคุณภาพของน้ำยางทำให้ได้รับน้ำยางเข้มข้น หรือที่เรียกว่ายางแห้ง ซึ่งภายในเนื้อยางแห้งของทางบริษัทฯ สามรถแบ่งตามคุณภาพดังนี้ เนื้อยางแห้งที่มีระดับแอมโมเนียสูง เนื้อยางแห้งที่มีระดับแอมโมเนียกลาง และเนื้อยางแห้งที่มีระดับแอมโมเนียต่ำ ทุกผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่ใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ที่สำคัญไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงงานผลิตแต่อย่างใด

จากทิศทางราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม 2560 ที่ได้ปรับลดลงมาต่ำสุดในรอบปีที่ 41.35 บาทต่อกิโลกรัม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ราคายางพาราต่อจากนี้ต่อเนื่องไปในปี 2561 น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ในไตรมาสแรกของปี 2561 จากแรงผลักดันสำคัญอย่างแนวโน้มความต้องการใช้ยางในจีนเพื่อผลิตรถยนต์ และความต้องการในมาเลเซียเพื่อผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ที่จะมีการผลิตจำนวนมากในช่วงไตรมาสแรกตามปัจจัยฤดูกาล ตลอดจนมาตรการกระตุ้นการใช้ยางในประเทศผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ราคายางอาจมีแนวโน้มเผชิญความท้าทายตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง และโดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2561 ที่จะมีอุปทานออกสู่ตลาดจำนวนมาก

ท้ายที่สุดแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากปัจจัยด้านอุปทานอย่างผลผลิตและสต๊อกยางที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงแนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจจีนที่อาจขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย จึงนับเป็นโจทย์ท้าทายของภาครัฐในการประคับประคองสถานการณ์ราคายางพาราผ่านมาตรการต่างๆ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือชาวสวนยางในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ของปี 2561