127 ปี OSP จากร้านขายยา สู่“มหาชน” กวาด 1.5 หมื่นล้านระดมทุนขยายธุรกิจเปิดรง.แห่งใหม่ที่เมียนมา หวังต่อยอดกำไรสู่ความยั่งยืน

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)  หรือ OSP หุ้นน้องใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ กว่า 127 ปี จาก  ร้านขายของเบ็ดเตล็ดย่านสำเพ็ง เต็กเฮงหยู มาถึงปัจจุบัน จาการปรับโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่และเข้าสู่ตลาดตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อย และได้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO)ในวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเปิดการซื้อขายวันแรกที่ราคา 30 บาท เพิ่มขึ้น 5 บาท หรือร้อยละ 20 จากราคาขาย IPO ที่ 25 บาทต่อหุ้น  และลงมาเคลื่อนไหวประมาณ 27.50-28.50 บาทนายเพชร โอสถานุเคราะห์  ประธานคณะกรรมการบริหาร OSP เปิดเผยว่า ดีใจที่ราคาหุ้น OSP สูงกว่าราคาจองซึ่งการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนมาขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเปิดโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ที่ประเทศเมียนมาภายในไตรมา4/2562  และตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเป็นร้อยละ 20-30 ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 16 และเตรียมจะขยายตลาดไปจีนและเวียดนามในปี 2562 เพิ่มเติมจากการขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ มั่นใจว่ารายได้และกำไรปีนี้จะเติบโตมากกกว่าปีก่อนโดยคาดว่าผลงานครึ่งปีหลังจะดีขึ้น เนื่องจากโรงงานขวดแก้วจะกลับมาผลิตได้ สำหรับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรกของOSPมีมูลค่ารวม15,094 ล้านบาท โดย OSP จะมีมูลค่าตามราคาตลาดประมาณ 75,094 ล้านบาท ณ ราคาที่เสนอขาย ซึ่งจะส่งผลให้ OSP เป็นหุ้นใหญ่ที่สุดที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 2561

อนึ่ง บริษัท โอสถสภา ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล และธุรกิจให้บริการผลิตสินค้า บรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่ายสินค้า

วัตถุประสงค์การใช้เงินมีอยู่ 2 วัตถุประสงค์หลักคือ อันดับแรก เงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า การปรับปรุงประสิทธิภาพสินค้า และการดำเนินธุรกิจภายในของบริษัท ได้แก่ การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมาคาดว่าจะใช้เงิน 2,424 ล้านบาท, การสร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯจำนวนเงินที่ใช้ประมาณ 1,800 ล้านบาท,การก่อสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้งแห่งใหม่ จำนวนเงินที่ใช้ประมาณ 167.3 ล้านบาท และโครงการอื่นๆ

รวมถึงการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายจ่ายฝ่ายทุนในกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดสอบคุณภาพ จำนวนเงินที่ใช้ประมาณ 1,002.7 ล้านบาท  รวมใช้เงินประมาณ 5,394 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เงินในช่วงปี 2561-2562

อันดับสองชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 5,408.4 – 5,700.0 ล้านบาท ระยะเวลาที่ใช้เงินประมาณปี 2561 และ 3. เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 0 – 1,198.2 ล้านบาท ระยะเวลาที่ใช้เงินประมาณปี 2561-2562

ด้านนางวรรณิภา ภักดีบุตร กรรมการผู้จัดการใหญ่OSP เปิดเผยถึงแผนการดำเนินว่าจากนี้มีจะเปิดโรงงานผลิตเครื่องดื่มที่ประเทศเมียนมาให้ได้ภายในปลายปี2562 เพื่อขยายกำลังการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดเป้าหมายต่อไปจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปปรับปรุงและพัฒนาบริษัท

ขณะเดียวกันมีแผนสร้างโรงงานแป้งเด็ก เบบี้มายด์ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาตลาดเพื่อนบ้านกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม) รวมทั้งการทำตลาดในประเทศจีนด้วย

ปัจจุบันโอสถสภามีธุรกิจหลัก 2 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์และธุรกิจผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลโดยขึ้นเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทยจากสินค้าเอ็ม-150 ที่เป็นอันดับหนึ่งมีมูลค่าตลาดค้าปลีกคิดเป็นสัดส่วน 39 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดค้าปลีกเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศและได้รับรางวัลตราสินค้าแห่งปี(Brand of the Year)อีกด้วย

กรรมการผู้จัดการใหญ่OSP เปิดเผยเพิ่มเติมว่า OSPมีรายได้ส่วนใหญ่จากการขายเครื่องดื่มบำรุงกำลังในตลาดผู้บริโภคส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือมาจากเครื่องดื่มบำรุงกำลังในตลาดพรีเมี่ยม เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟพร้อมดื่ม เครื่องดื่มที่มีการเติมส่วนผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติเฉพาะและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล โดยเรามีการบริหารจัดการพอร์ตผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาอัตราการทำกำไรของแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาแผนทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่องค์กร