โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ครบรอบการสถาปนาสู่ 71 ปี “โรงพยาบาล 6 แผ่นดิน” ยึดหลักทำงาน โปร่งใส ไร้ทุจริต จิตพอเพียง

โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ สาขาออร์โธปิติกส์ นับโรงพยาบาลเอกชนฝรั่งแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในวาระครบรอบ 70 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้ก่อสร้างหอประวัติโรงพยาบาลเลิดสินเพื่อบันทึกประวัติศาสตร์การแพทย์ต่างๆของโรงพยาบาลมากว่า 71 ปี

หอประวัติ โรงพยาบาลเลิดสินจัดสร้างโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ในวาระสถาปนาครบรอบ 70 ปี โดยใช้พื้นที่ห้องสมุดโรงพยาบาลเลิดสิน จำนวน 142 ตารางเมตรในการก่อสร้างและตกแต่ง โดยได้รับเงินสนับสนุนจากได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โดย นายแพทย์อนันต์ เสรฐภักดี และคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการโรงพยาบาลเลิดสิน ครั้งที่ 22 ประจำปีงบประมาณ 2562

กว่า71 ปีที่ผ่านมาบุคคลากรทางโรงพยาบาลได้คิดค้นนวัตกรรม การบริการทางการแพทย์ใหม่ๆอยู่สม่ำเสมอ อาทิ นวัตกรรมตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลัง การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งเบ้าหัว เป็นต้น

ล่าสุดโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการรู้ทัน…กันหักซ้ำ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทุกภาคส่วน เป็นโครงการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักเพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำซ้อนจากโรคกระดูกพรุน ด้วยการดูแลครบวงจรจากบุคลากรทางการแพทย์ เช่น ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด เป็นต้นปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะพบกับโรคต่างๆ ในผู้สูงอายุ หนึ่งในโรคที่พบบ่อยคือ โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบเนื่องจากจะไม่แสดงอาการ แต่จะรู้เมื่อกระดูกหัก เกิดจากมวลกระดูกที่ลดลง โครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงไปและเมื่อถูกแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย

นายแพทย์ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ที่กระดูกหักหนึ่งจุดอันเนื่องมาจากกระดูกพรุน พบว่ามีโอกาสหักได้บ่อย ได้แก่ กระดูกสะโพก กระดูกหลัง กระดูกข้อมือและผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกจะลดต่ำ จึงทำให้เกิดภาวะสลายเซลล์กระดูกมีมากกว่าการสร้างเซลล์กระดูก ซึ่งโครงการรู้ทัน…กันหักซ้ำ เป็นโครงการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก เพื่อป้องกันกระดูกหักซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเสริมสร้างเนื้อกระดูกแข็งแรงตั้งแต่เด็ก ตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometry ดูแลสุขภาพช่องปาก ใช้เครื่องมือวิเคราะห์การทรงตัวป้องกันหกล้ม แนะนำการออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อกระดูกแข็งแรง แนวทางการรักษาภาวะกระดูกหักซ้ำ ประกอบด้วย การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักแบบ Fast Track sugery (ผ่าตัดไว) เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มอัตราการฟื้นตัวที่ดียิ่งขึ้น