โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) สู่ 28 ปี การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์คุณภาพ การรันตีด้วย ISO 9001 และ ISO 14001

บริษัท โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่น ผลิตพวงมาลัยรถยนต์สำหรับถุงลมนิรภัย ถุงลมนิรภัยและชิ้นส่วนถุงลมนิรภัยผลิตชิ้นส่วนพลาสติกภายในและภายนอกรถยนต์ และท่อน้ำมันเบรค ชิ้นส่วนยางสังเคราะห์และพลาสติกสำหรับพาหนะ มีฐานการผลิตมากว่า 40 แห่งทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

สำหรับโรงงานในประเทศไทยตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครเฟส 2 ,เฟส4 และเฟส6 เปิดดำเนินการมาแล้ว 28 ปี ถึงแม้จะมีโรงงานกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอเมริกา กลุ่มโซนเอเชีย ออสเตรเลีย และกลุ่มโซนยุโรป และแอฟริกา ทุกโรงงานผลิตอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันซึ่งบริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นได้ผ่านมาตรฐานและมีคุณภาพ นอกจากนี้บริษัทมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

อย่างไรก็ตาม บริษัทให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้ทุกชิ้นผ่านการรับรองมาตรฐานที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐาน ISO 9001 และมาตรฐานสิ่งแวะล้อม ISO 14001

บริษัทเน้นการพัฒนากิจกรรมการออกแบบและการผลิตของเราอยู่ภายใต้การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตามกฎหมาย ในการจัดซื้อซึ่งทำตามหลักการของการจัดซื้อรายการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและการดำเนินกิจกรรมของเราในรูปแบบที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัทมีหลักพื้นฐานในการผลิตที่สำคัญๆ คือ ในขั้นตอนของการจัดหาวัสดุสินค้าผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์การผลิตและสินค้าอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของบริษัท ดำเนินการประเมินซัพพลายเออร์จากทั่วโลก เพื่อคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงคุณภาพทั้งในด้านต้นทุนและปริมาณในการสั่งซื้อการส่งมอบ บริษัท ต้องการที่จะเติบโตไปด้วยกันกับพันธมิตรทางธุรกิจโดยอยู่บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ระยะยาว ด้วยเหตุนี้จึงทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของความไว้วางใจผ่านการสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์

            ขณะที่นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าส.อ.ท.ประมาณการยอดผลิตรถยนต์ปี 2566 อยู่ที่ 1,950,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.53 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2565 ที่ผลิตได้ 1,883,515 คัน แบ่งเป็นยอดผลิตเพื่อส่งออก 1,050,000 คัน เพิ่มขึ้น 1.22 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนอยู่ที่ 1,037,317 คัน และเป็นยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 6.36 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนอยู่ที่ 846,198 คัน เนื่องจากปัจจัยบวกจากการส่งออก จีนเปิดประเทศ ทำให้การค้าและท่องเที่ยวทั่วโลกรวมถึงไทยจะฟื้นตัว ปัญหาเซมิคอนดักเตอร์(ชิป) เริ่มคลี่คลาย และเศรษฐกิจไทยยังเติบโตระดับ 3 เปอร์เซ็นต์

            รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในเดือนมกราคม 2566 การผลิตรถยนต์ มีทั้งสิ้น 157,844 คัน เพิ่มขึ้น 4.02 เปอร์เซ็นต์ ​แต่ลดลง 0.48 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนธันวาคม 2565 ยอดผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น จึงผลิตรถยนต์นั่งเพื่อส่งออกและผลิตขายในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 32.57 เปอร์เซ็นต์ และ 0.69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลิตรถกระบะขายในประเทศเพิ่มขึ้น 1.15 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนมกราคมปีที่แล้ว

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าราคารถยนต์ BEV ยังเป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบว่าจะเลือกซื้อ BEV นั้น คิดจะซื้อในช่วงก่อนปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงที่มีมาตรการให้เงินส่วนลดจากภาครัฐ และส่วนใหญ่จะเลือก BEV แบรนด์จีนที่ราคาถูกกว่าแบรนด์อื่น ในประเด็นนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า หากในระยะข้างหน้า ผู้ที่เกี่ยวข้องใน ตลาดรถยนต์ BEV ทั้งค่ายรถยนต์ และผู้ให้บริการจุดชาร์จไฟฟ้าสาธารณะ สามารถลดอุปสรรคประเด็นนี้ลง ก็มีโอกาสที่ผู้ที่เดิมคิดจะซื้อรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ BEV ได้ไม่ยาก เพราะโดยทั่วไปแล้วราคารถยนต์ BEV มักถูกกว่ารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และความยุ่งยากในการซ่อมบำรุงก็มีน้อยกว่าเพราะมีชิ้นส่วนที่น้อยลงมาก