เอเอฟที ขยายกำลังผลิต ชูมาตรฐาน ISO 9001:2015 ลุยตลาดตปท

อายิโนะโมะโต๊ะ โฟรเซ่นฟู้ดส์ ผู้นำตลาดอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งที่ได้รับความนิยมทั้งตลาดในไทยและต่างประเทศ มุ่งมั่นขยายกำลังการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของตลาด โชว์มาตรฐาน ISO 9001:2015 การันตีองค์กรคุณภาพในระดับสากล ส่วนทิศทางอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งปี 63 คาดโต 3-5 เปอร์เซ็นต์

 บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (เอเอฟที) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งนานาชนิด เพื่อรองรับตลาดในประเทศและตลาดส่งออก โดยได้รับความนิยมอย่างสูงจากการ ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและเปี่ยมประสิทธิภาพ ที่ผ่านมานั้นบริษัทฯ ได้ทำการขยายโรงงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นและได้ขยายตลาดไปสู่กลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศแถบเอเชียด้วยบุคลาการที่มากความชำนาญ และการคัดสรรวัตถุดิบ ที่่มีคุณภาพสูงผนวกกับ เทคโนโลยีการผลิตในขั้นสูงส่งผลให้การขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

            สำหรับกลยุทธ์ด้านการตลาด บริษัทมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า และเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการผลิตและการควบคุมคุณภาพตามหลักมาตรฐานสากล สอดคล้องกับกฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเพิ่มยอดขายสินค้าในตลาดปัจจุบัน และขยายช่องทางการขายสินค้าในตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความก้าวหน้า ไปพร้อมกันกับการเติบโตขององค์กร เพิ่มพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กร

            ด้านมาตรฐานการผลิตบริษัทฯใส่ใจต่อความต้องการของลูกค้าโดยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าพอใจ โดยการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้ลูกค้าเชื่อถือและไว้วางใจ บริษัทฯวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและสอดคล้องกับกฏหมายและข้อบังคับ บริษัทฯประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการระบบบริหารคุณภาพ ที่เข้มงวดของบริษัท (ASQUA) ภายใต้พื้นฐานของมาตรฐาน ISO อีกทั้งพนักงานทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ปลอดภัย มีคุณภาพสูงอย่างเต็มกำลังและความสามารถเพื่อให้บริษัทฯสามารถส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ

            บริษัทฯมีระบบมาตรฐาน GMP ,HACCP ,BRC,IFS และระบบ ISO9001:2015เป็นมาตรฐานสำหรับระบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล มุ่งเน้นในเรื่องของ การหาความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า มาตรฐานนี้ให้โครงสร้างการทำงานและหลักการ ต่างๆที่ช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินการบริหารกิจกรรมทาง ธุรกิจในเชิงสามัญสำนึก เพื่อการสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กรอันรวมถึง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

      รวมทั้งระบบมาตรฐานความปลอดภัยอื่นๆในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วย ISO 14001 เป็นมาตรฐานสำหรับระบบบริหารสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกควบคุมคุณลักษณะทางสิ่งแวดล้อม และควบคุมความสัมพันธ์ ระหว่างกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ และสิ่งแวดล้อมและISO/IEC 17025 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วย ความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/หรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วย ข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมา ใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมการทดสอบและ/หรือสอบเทียบมาตรฐานผลิตภัณฑ์

ทิศทางอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งปี 63

          ตลาดอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง รับปัจจัย Urbanization หนุนตลาดโต 3-5 เปอร์เซ็นต์ อาหารพร้อมทาน (Ready to eat) เป็นหนึ่งในสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าภาพรวมตลาดอาหารและเครื่องดื่ม โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในปี 2563 จะมีอัตราการขยายตัว 3.0-5.0 เปอร์เซ็นต์ หรือมีมูลค่าตลาดราว 20,200-20,500 ล้านบาท ปัจจุบันอาหารพร้อมทานมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับตลาดรวมอาหารและเครื่องดื่มแต่มีโอกาสสูงที่จะเพิ่มสัดส่วนได้มากขึ้นในระยะข้างหน้า

          ซึ่งปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมาจากการเพิ่มขึ้นของจุดจำหน่ายที่เข้าใกล้ผู้บริโภคอย่างร้านสะดวกซื้อ วิถีชีวิตแบบสังคมเมืองขยายวงกว้างมากขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคต้องการความสะดวก รวดเร็วและจำนวนครอบครัวเดี่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงการแข่งขันในธุรกิจของผู้ประกอบการอาหารพร้อมทานที่มีการแข่งขันด้านนวัตกรรมการผลิตอาหาร ที่ทำให้อาหารพร้อมทานมีคุณลักษณะไม่แตกต่างจากอาหารปรุงสด (ทั้งรสชาติ เนื้อสัมผัส วัตถุดิบ คุณค่าทางโภชนาการ)และมีความหลากหลายแปลกใหม่ของสินค้า และสะดวกกับการบริโภค

            ขณะที่มูลค่าตลาดรวมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ อาจมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่คาดว่าจะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว

            อย่างไรก็ตามมูลค่าตลาดในภาพรวมยังเติบโตได้ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่า มูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มในประเทศปี 2563 จะอยู่ที่ระดับ 2.46-2.51 ล้านล้านบาทขยายตัว 2.4-4.4 เปอร์เซ็นต์