สู่ 20 ปี แอมพาเซ็ท(ประเทศไทย) ชูมาตรฐานสากล ISO14001:2015, , ISO9001:2015 ผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม

บริษัท แอมพาเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกเม็ดสีพลาสติก (Masterbatches) ซึ่งมีพิธีเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เมื่อปี 2543 โดยเงินลงทุนจดทะเบียน 14 ล้านบาท

            ภายหลังที่บริษัท แอมพาเซท คอร์ปอเรชั่น ผู้นำระดับโลกด้านการผลิตสีเม็ดสำหรับพลาสติก ได้ประกาศขยายการ ปัจจุบันแอมพาเซทมีโรงงานผลิตมาสเตอร์แบทช์ทั้งสิ้น 21 โรงงานใน 11 ประเทศทั่วโลก และมีสินค้าพร้อมจำหน่ายให้แก่ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมในกว่า 80 ประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักงานใหญ่แห่งนี้จะรับหน้าที่ดูแลฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชีย 3 แห่งด้วยกัน รวมถึงโรงงานที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดด้วย

แหล่งข่าวระบุว่า แอมพาเซ็ทมีบริษัทในเครือกระจายอยู่ทั่วโลกตามภูมิภาคต่างๆ เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรปและเอเชีย

ด้านการผลิต บริษัทให้ความสำคุญกับทุกๆขั้นตอนการผลิตโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยบริษัทได้นำเอาระบบ De-Dusting มาช่วยให้ขั้นตอนต่างๆของการผลิตมีความปลอดภัยและลดการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การรันตรีด้วย ISO14001:2015 ซึ่งบริษัทได้รับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากล

ขณะเดียวกับบริษัทได้คิดค้นมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ นำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการผลิต เพื่อการเติบโตของบริษัทอย่างยั่งยืน บริษัทปฏิบัติทุกขั้นตอนด้วยความสุจริตยึดตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพ  

สำหรับการขนส่งบริษัทจะเลือกใช้วิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ถึงมือลูกค้าเร็วที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องรักษาคุณภาพให้คงที่มากที่สุด ซึ่งทั้งที่กล่าวมาเบื้องต้นสะท้อนถึงการดำเนินงานและการบริหารงานได้ครอบคลุมทุกๆขั้นตอนก่อนถึงมือลูกค้า

ด้านนายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก เปิดเผยถึงภาพรวมอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยปี 2561 ที่ผ่านมา ว่า อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกในปี 2561 ขยายตัวประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ โดยขยายตัวใกล้เคียงกับปี 2560

ขณะที่อุตสาหกรรมพลาสติกปลายน้ำขยายตัวประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์มีมูลค่าในตลาดประมาณ 7 แสนล้านบาทส่วนใหญ่จะเป็นการเติบโตที่มาจากยอดการใช้ในประเทศประมาณ 5 แสนล้านบาทและส่วนที่เหลือ 2 แสนล้านบาท มาจากการส่งออก

            “ปัจจุบันการใช้พลาสติกชีวภาพในประเทศมีเยอะขึ้น แต่ก็ยังไม่มากพอเท่าที่ภาครัฐต้องการจะสนับสนุนจริงๆ เพราะในอดีตต้นทุนต่อหน่วยแพง ดังนั้นการที่โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพจะเริ่มดำเนินการในประเทศไทยปีนี้น่าจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการใช้ในประเทศมากขึ้น เพราะต้นทุนที่ถูกลง ประกอบกับยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไบโออีโคโนมี ระยะที่ 2 น่าจะมีส่วนกระตุ้นให้การผลิตและการใช้พลาสติกชีวภาพมากขึ้น”

            นายเกรียงศักดิ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การจะสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมทางสถาบันพลาสติกได้ดำเนินโครงการ 3R มาอย่างต่อเนื่องโดยได้มีการว่าจ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาวิจัยการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี มีการทำโครงการร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ ในการบูรณาการงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการของสถาบัน