ก้าวสู่ 18 ปี ทช.เข้ารับรางวัล เลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สะท้อนการทำงานเน้นประชาชนมีส่วนร่วม เปิดเวทีประชาคมทุกโครงการ มุ่งเน้นคุณภาพงานและบูรณาการทำงานเป็นทีม

กรมทางหลวงชนบท (ทช.)เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลเปิดใจใกล้ชิดประชาชน ระดับดี สะท้อนการบริหารงานที่เน้นส่วนร่วมกับประชาชน

            รางวัลดังกล่าว ที่ ทช.ได้รับสะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้บุคคลาการในองค์กรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จริงๆแล้ว ทช.ไม่ได้มุ่งเน้นที่รางวัล แต่อยากให้มองถึงกฎของเรามากกว่า รางวัลดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาการรันตรีการทำงานของ ทช.เท่านั้น แต่รางวัลที่ทช.อยากได้จริงๆคือ รางวัลจากประชาชน อยากได้ยินคำชื่นชมการทำงาน สิ่งเหล่านี้คือเสียงที่อยากได้ยินทำให้บุคคลากรมีแรงใจในการทำงานและพัฒนาคุณภาพของการทำงาน

ในปีนี้ ทช.วางแผนในการที่จะให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยการเปิดเวทีประชาคมทุกโครงการที่มีการเซ็นสัญญาผู้รับเหมาที่มูลค่างานตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอแนะความคิดเห็น และข้อร้องเรียน ตลอดระยะเวลาการทำงานตั้งแต่ก่อนทำ ระหว่างทำและหลังทำ ซึ่งทุกกิจกรรม ทช.จะเน้นจัดขึ้นในวันหยุดเพื่อให้ประชาชนมีเวลาว่างเข้ามามีส่วนร่วมกันมากขึ้น

            นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยถึงงบประมาณปี 63 ว่า ทช.ได้รับงบจัดสรรมาประมาณ 48,005 ล้านบาท ซึ่งต่อมาตัดไปใช้ในโครงการแก้ไขปัญหาโควิด -19 จำนวน 5 เปอร์เซ็นต์  จึงเหลือใช้ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการ และงบประมาณที่โดนตัดไปจะอยู่ในทุกส่วนก็ว่าได้ ทั้งงบซ่อมบำรุง งบความปลอดภัย ยอดรวมได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสำนักงบประมาณจะมีข้อมูลในการปรับลดงบต่างๆ โครงการทั้งหมดจะโดนตัดงบในปีนี้ โครงการไหนที่อยู่ในพ.ร.บ.ต้องโอนคืนจะต้องโดนตัดงบไปทั้งหมด ส่วนกรณีที่หลายคนมีความเป็นห่วงว่าย่างเข้าสู่ฤดูฝนหากน้ำท่วมถนนขาดจากอุทกภัยจะไม่มีงบไปซ่อมบำรุงนั้นทช.มีงบส่วนนี้เป็นงบฉุกเฉินในการซ่อมบำรุงปกติรองรับไว้บางส่วนแต่จำนวนไม่มาก จึงคงต้องดูงบอื่นๆมาสำรองเอาไว้ด้วยเช่นกัน

            สำหรับการพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งอันดามัน มีชื่อว่า เส้นทางตะนาวศรีนั้น จะเลาะเลียบทะเลชายฝั่งอันดามัน เป็นถนนเพื่อการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่ง เช่นเดียวกับเส้นทางไทยแลนด์ริเวียร่า โดยมีจุดเริ่มต้นที่ จ.ราชบุรี ใช้เส้นทางสายรองช่วงจอมบึง-แก่งกระจาน ก่อนสลับมาใช้ถนนเพชรเกษมสายหลักช่วง เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนไปแยกเข้าเส้นทาง Scenic Route ช่วงชุมพร-ระนอง-พังงา ก่อนสิ้นสุดเส้นทางที่จังหวัดภูเก็ต ระยะทางรวมมากกว่า 1,000 กม. ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยในปัจจุบัน อยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมถึงการออกแบบรายละเอียดของโครงการฯ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการต่างๆ และการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป